ปกเว็บไซต์ สถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา

สพด.นครราชสีมา ร่วมกับ สพข.3 เตรียมพื้นที่ปรับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม พร้อมปลูกข้าวโพด โดยใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด.13 (ไมคอร์ไรซา) บริเวณจัดกิจกรรม "วันดินโลก ปี 2567" #จังหวัดนครราชสีมา @สถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา และ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 ต.จอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา #วันดินโลก2567 #worldsoilday #caringforsoilsth2024 #thaiwsd2024


date 4 พ.ย. 2567    6   

           วันที่  4  พฤศจิกายน 2567  เวลา 13.00 น. สถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3  เตรียมพื้นที่ปรับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม พร้อมปลูกข้าวโพด โดยใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด.13 (ไมคอร์ไรซา) บริเวณจัดกิจกรรม "วันดินโลก ปี 2567" จังหวัดนครราชสีมา  ณ สถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา และ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  

          ซึ่งกิจกรรม "วันดินโลก ปี 2567" ในชื่อ "Caring for soils : measure, monitor, manage ใส่ใจมาตรฐาน ตรวจวัดจัดการ ดินดียั่งยืน" จังหวัดนครราชสีมา จัดขึ้นในวันที่ 17 ธันวาคม 2567  ณ สถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องวันดินโลกแก่ประชาชนในส่วนภูมิภาคทุกระดับ โดยประชาชนในส่วนภูมิภาคได้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน และเกิดจิตสำนึกในการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน

           จุลินทรีย์ซุปเปอร์ พด.13 ไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มการดูดใช้ธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะฟอสฟอรัส ส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตข้าวโพด ลดการใช้ปุ๋ยเคมีโดยราไมคอร์ไรซา เป็นราที่อาศัยอยู่ร่วมกับรากพืชโดยมีความสัมพันธ์แบบเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ราจะสร้างเส้นใยเจริญรอบราก แล้วเข้าไประหว่างเซลล์รากพืช โดยมีการสร้างโครงสร้างพิเศษ ช่วยดูดซับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ส่งต่อให้กับพืช สร้างความทนทานให้กับพืชและเพิ่มผลผลิตพืชมีประสิทธิภาพดีในสภาพพื้นที่ดินมีปัญหา เช่น ดินกรด และดินเค็ม ทนต่อสภาพความแห้งแล้ง พิษของโลหะหนัก รวมทั้งลดการเข้าทำลาย ของเชื้อโรคในดิน นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินโดยเส้นใยของเชื้อราจะสร้างสารกลูมาลิน ช่วยทำให้เกิดการจับตัวกันของอนุภาคดินเกิดเป็นก้อนดิน (aggregate) ส่งผลต่อการพัฒนาสมบัติดินทั้งทางกายภาพและเคมีของดิน และมีผลต่อปริมาณและคุณภาพของข้าวโพด