ประวัติความเป็นมา
สถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา ตั้งขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2506 ณ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
เป็นสถานีแรกของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งขยายสู่ส่วนภูมิภาค
โดยมีอดีตรองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน นายจำเนียร กรุแก้ว เป็นหัวหน้าสถานีฯ คนแรก ก่อนการแบ่งส่วนราชการ
เดิมชื่อ ศูนย์อนุรักษ์ดินและน้ำ กองบริรักษ์ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดยมี ดร.บรรเจิด พรางกูร เป็นอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินคนแรก
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อ จากศูนย์อนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นศูนย์พัฒนาที่ดิน
และได้มีการปรับเปลี่ยนแผนงาน แนวนโยบายในการปฏิบัติงานของกรมฯ
ตามพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการของกรมพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2527 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา
สังกัดสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3
วิสัยทัศน์
เป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน
เพื่อขับเคลื่อนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม 15 ล้านไร่ ภายในปี
2570
อำนาจหน้าที่
1. มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านปฏิบัติงานพัฒนาที่ดิน
การจัดทำแปลงสาธิต การฝึกอบรมผู้นำเกษตรกร
อบรมหมอดินอาสาและส่งเสริมเผยแพร่ด้านการพัฒนาที่ดิน
2. แก้ไขการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
โดยแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรใช้วัสดุในไร่นา และหาง่ายในท้องถิ่น เช่น ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปรับปรุงบำรุงดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ การจัดระบบการปลูกพืช
อำนาจหน้าที่หลัก
1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินแก่เกษตรกร
2. บริการเกษตรกรตามแผนพัฒนาทรัพยากรที่ดินและแผนฟื้นฟูการเกษตร
3. บริการข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินแก่เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อำนาจหน้าที่รอง
1. บริการเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์
2. สนับสนุนวิทยากรด้านการพัฒนาที่ดิน
ให้กับหน่วยงานอื่น
การสนับสนุน
1. งานอำนวยการต่าง ๆ
2. ปรัชญาการดำเนินงาน
ดินเป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีพ
อำนาจและหน้าทีสถานีพัฒนาที่ดิน
: ฝ่ายบริการทั่วไป :
1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป
2. จัดทำแผนงาน งบประมาณประจำปี
ควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณ ติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงานของสถานีพัฒนาที่ดิน
3. งานบริหารงานบุคคล
และงานประชาสัมพันธ์ของสถานีพัฒนาที่ดิน
4. ตรวจสอบกลั้นกรองเรื่องต่างๆ
ก่อนนำเสนอผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดิน รวมทั้งประสานงาน
5. ปฏิบัติงานอื่น ๆ
ตามที่รับรับมอบหมาย
: ฝ่ายวิชาการเพื่อพัฒนาที่ดิน
:
1. ฝ่ายวิชาการเพื่อพัฒนาที่ดินศึกษา
วิจัย และทดสอบการพัฒนาที่ดินในพื้นที่
: หน่วยงานในกรมพัฒนาที่ดินส่วนภูมิภาค :
1. ปฏิบัติการในด้านการพัฒนาที่ดิน
การส่งเสริมการสาธิต เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน
2. การฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่หมอดินอาสา
และเกษตรกรทั่วไป
3. ปฏิบัติตามแผนพัฒนาทรัพยาการที่ดินและแผนพัฒนาการเกษตร
4. ร่วมจัดทำแผนพัฒนาที่ดินระดับพื้นที่
5. เป็นเลขานุการอนุกรรมการจำแนกประเภทที่ดินประจำจังหวัด
6. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
" บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
"
รายงานนี้เป็นไปตามนโยบายของกรมพัฒนาที่ดินที่ต้องการปรับปรุงข้อมูลดิน
ให้มีความทันสมัยทั้งในรูปของแผนที่ รายงาน และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะปัญหาการใช้ประโยนช์ที่ดินและการจัดการดิน
เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนา รวมทั้งการแก้ปัญหาการใช้ที่ดิน
เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ
แผนที่ดินที่ปรับปรุงครั้งนี้ จำทำในขนาดมาตราส่วน 1:25,000 โดยใช้ภาพถ่ายออร์โธมสีเป็นแผนที่พื้นฐาน
และใช้หน่วยแผนที่เป็นประเภทของกลุ่มชุดดิน
ซึ่งจะให้รายละเอียดมากกว่าแผนที่กลุ่มชุดดินเดิม
ที่กรมพัฒนาที่ดินเคยเผยแพร่ไปแล้ว
" ผลการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้ "
จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 12,808,728
ไร่ อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15-17 องศาเหนือ
เส้นแวงที่ 102-103 องศาตะวันออก
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,070.5 มิลลิเมตรต่อปี
อุณหภูมิเฉลี่ย 26.7 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 72%
ฝนตกมากในเดือนสิงหาคม
การเพาะปลูกที่อาศัยน้ำฝนสามารถเริ่มได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป