วันที่ 19 ธันวาคม 2567 13.30 น.
สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน ต้อนรับ ดร. สำราญ สมบัติพานิช และ ดร.กาญจนา
ชื่นพิชัย
ดร.ปิ่นเพชร ดีล้อม ผู้อำนวยการสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน
นายรัตนชาติ ช่วยบุดดา ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์วิจัยดินทางเคมี และ ดร.ชนิดา
จรัญวรพรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์วิจัยดินทางกายภาพ ให้การต้อนรับ ดร. สำราญ สมบัติพานิช
ที่ปรึกษาสมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งประเทศไทย และ ดร.กาญจนา ชื่นพิชัย
สวด.มีผลงานที่โดดเด่นในการพัฒนาห้องปฏิบัติการ
จนได้รับรางวัลที่เป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบ
ในด้านมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ หรือ Safety Lab จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
(วช.) เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567
และเลขที่ใบรับรองที่ได้รับ สามารถยื่นในระบบ NRMS เพื่อประกอบการยื่นขอทุนวิจัย
นอกจากนี้
สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดินยังมีผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ในความเป็นเลิศด้านการวิเคราะห์ดิน
โดยได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 17025
ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากลสำหรับความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบมาตั้งแต่ปี
2558 จนปัจจุบันได้รับการรับรอง 7
รายการ 🎯🎯ได้แก่
pH
ในดิน ความหนาแน่นรวมของดิน ค่าการนำไฟฟ้าในดิน ปริมาณคาร์บอนในดิน
ปรอทในดิน ปรอทในปุ๋ย และอินทรีย์คาร์บอนในดิน ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพงานด้านวิทยาศาสตร์เพื่อสนับสนุนการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน
สวด.เป็นห้องปฏิบัติการด้านวิเคราะห์ดิน
ที่มีรายการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านธาตุอาหารในดิน
ด้านฟิสิกส์ดิน ด้านโลหะหนักในดิน ด้านธาตุอาหารในปุ๋ย และพืช จนมีผู้มาขอรับบริการ ทั้งเกษตรกร นักวิจัย
นักวิชาการจากทั่วประเทศ มากกว่า 10,000
ตัวอย่างต่อปี หรือประมาณ 30,000 รายการวิเคราะห์ต่อปี ⏰⏰
สวด.มีนักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นพัฒนาชุดตรวจสอบดินภาคสนาม
ในปัจจุบัน มี 3 กระเป๋า ได้แก่ ชุดpH ในดิน
ซึ่งได้รับอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ชุด NPK และ ชุดค่าความเค็มในดิน
(เฉพาะดินในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และในงานดินโลกปีนี้ สวด.ร่วมเป็นหน่วยงานในการจัดนิทรรศการวิชาการ ในหัวข้อการจัดงานวันดินโลก
ปี 2567 ในชื่อ “Caring for soils : measure,
monitor, manage ใส่ใจมาตรฐาน ตรวจวัดจัดการ ดินดียั่งยืน”
โดยจัดแสดงและออกแบบโมเดลจำลอง 3 M ซึ่งเน้นภารกิจของกรมพัฒนาที่ดินที่ให้ความสำคัญของการดูแลรักษาดิน
ต้องอาศัยการตรวจสอบ วิเคราะห์ ติดตาม และประเมินอย่างแม่นยำ และสม่ำเสมอ
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับนำมาวางมาตรการจัดการดินที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ