ปกเว็บไซต์ สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน
ภาพประกอบประวัติหน่วยงานสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน

สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2506 โดยมีฐานะเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน อยู่ในกองสำรวจดิน (สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน) มีหน้าที่วิเคราะห์คุณสมบัติของดินทางเคมี และทางกายภาพ รับผิดชอบการวิเคราะห์ตรวจสอบคุณสมบัติของดินที่เกี่ยวข้องกับการจำแนกชนิด และประเภทดิน จากตัวอย่างดินที่เก็บจากการสำรวจดินภาคสนาม ต่อมาห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดินได้รับการยกฐานะเป็นฝ่ายวิเคราะห์ดิน โดยแบ่งงานออกเป็น 4 งาน คือ

  1.  งานเคมี
  2.  งานกายภาพ
  3.  งานแร่
  4.  งานจุลสัณฐาน

สำหรับกองบริรักษ์ที่ดิน (สำนักวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ดิน) ก็ได้มีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการขึ้นมาเช่นกัน โดยรับผิดชอบการวิเคราะห์ตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ของดิน (Soil futility) สำหรับตัวอย่างดินที่ได้จากการทดลอง

ในปี พ.ศ.2518 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองวิเคราะห์ดิน โดยรวมฝ่ายวิเคราะห์ดิน กองสำรวจดิน (สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน) และห้องปฏิบัติการ กองบริรักษ์ที่ดิน (สำนักวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ดิน) เข้าด้วยกัน แบ่งงานออกเป็น 1 งาน 8 ฝ่าย คือ

  1.  งานธุรการ
  2. ฝ่ายวิเคราะห์ดินเพื่องานสำรวจและจำแนกดิน
  3. ฝ่ายวิเคราะห์วิจัยดินเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม
  4. ฝ่ายวิเคราะห์ทางกายภาพดิน
  5. ฝ่ายวิเคราะห์ดินร่างดิน
  6. ฝ่ายปฐพีดิน
  7. ฝ่ายวิเคราะห์พืชและปรับปรุงดิน
  8. ฝ่ายนิเวศวิทยาของดิน

จากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของกองวิเคราะห์ดินเป็น 1 ฝ่าย 8 กลุ่ม ดังนี้

  1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
  2. กลุ่มเคมีดินที่ 1
  3. กลุ่มเคมีดินที่ 2
  4. กลุ่มกายภาพดิน
  5. กลุ่มนิเวศวิทยาของดิน
  6. กลุ่มวิเคราะห์พืช ปุ๋ย และสิ่งปรับปรุงดิน
  7. กลุ่มจุลปฐพี
  8. กลุ่มแร่ของดิน
  9. กลุ่มนิวเคลียร์เทคนิคเพื่อการพัฒนาที่ดิน

ปัจจุบันกองวิเคราะห์ดินได้รับการยกฐานะเป็นสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2546 โดยมีการแบ่งส่วนภายในสำนักดังนี้

  1. ฝ่ายบริหารทั่วไป
  2. ส่วนวิจัยเคมีดิน
  3. ส่วนวิจัยกายภาพดิน
  4. ส่วนวิจัยสิ่งแวดล้อม
  5. ส่วนวิจัยแร่และจุลสัณฐานดิน
  6. ส่วนวิเคราะห์วิจัย พืช ปุ๋ย และสิ่งปรับปรุงดิน
  7. ส่วนมาตรฐานและพัฒนาระบบการวิเคราะห์ดิน
  8. ส่วนวิทยบริการ

สวด. ได้มีการปรับปรุงกระบวนงานโดยได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าปรับใช้ในองค์กร


ภาพประกอบโครงสร้างหน่วยงานสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน
รางวัลผลงานวิชาการกรมพัฒนาที่ดินดีเด่น ประจำปี 2566 ภาคนิทรรศการ (รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2) นางสาวปราณี จอมอุ่น นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ
รางวัลผลงานวิชาการกรมพัฒนาที่ดินดีเด่น ประจำปี 2566 ภาคบรรยาย สาขาวิชาการที่ 6 สาขาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (รางวัลชนะเลิศ) นางสาวจุฑามาศ ไกรเพิ่ม นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ
รางวัลผลงานวิชาการกรมพัฒนาที่ดินดีเด่น ประจำปี 2566 ภาคบรรยาย สาขาวิชาการที่ 6 สาขาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2) นายชัยสิทธิ์ วัฒนาวังจงสุข นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
รางวัลผลงานวิชาการกรมพัฒนาที่ดินดีเด่น ประจำปี 2566 ภาคบรรยาย สาขาวิชาการที่ 3 สาขาการจัดการดินปัญหา (รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2) นางสาวณัฐพร ประคองเก็บ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ
รางวัลขับเคลื่อนค่านิยม TEAM for Soils กรมพัฒนาที่ดินประจำปี 2566 (อันดับ 5) สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน
รางวัลองค์กรคุณธรรมต้นแบบประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประเภทข้าราชการ นางสาวปราณี จอมอุ่น นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ
กรมพัฒนาที่ดิน มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่ดีและมีประสิทธิภาพให้กับท่านมากยิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตและยอมรับให้มีการใช้คุกกี้ตามนโยบายการใช้คุกกี้ของกรมพัฒนาที่ดิน