ปกเว็บไซต์ กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน

วจ. ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม PGS และโครงการหมู่บ้านปลอดขยะอินทรีย์ต้นแบบ (Zero Waste) จังหวัดศรีสะเกษ


date 11 ก.ย. 2567    7   
🔈 ”กลุ่มวิจัยและพัฒนาหมอดินอาสาฯ กวจ. ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม PGS และโครงการหมู่บ้านปลอดขยะอินทรีย์ต้นแบบ (Zero Waste) จังหวัดศรีสะเกษ“
📚 วันที่ 11 กันยายน 2567 จังหวัดศรีสะเกษ
📌นางสาวภรภัทร นพมาลัย นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ และเจ้าหน้าที่กลุ่มวิจัยและพัฒนาหมอดินอาสาและบริหารจัดการเครือข่าย กวจ. ลงพื้นที่ของเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม PGS และติดตามการดำเนินโครงการหมู่บ้านปลอดขยะอินทรีย์ต้นแบบ (Zero Waste) จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายสาคร เหมือนตา ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินศรีสะเกษ ให้การต้อนรับ นางวรดา สติมั่น นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ และนายไพฑูรย์ คำตา นักวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินศรีสะเกษอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมพื้นที่ของเกษตรกร
🎯 การลงพื้นที่และติดตามโครงการฯ เพื่อพบปะพูดคุย สอบถามปัญหา อุปสรรค ความต้องการ รวมถึงข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ หมอดินอาสา เกษตรกรผู้ร่วมโครงการฯ ดังนี้
1) กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม PGS โดยมีนายเข็มทอง ศรสุข หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน เป็นประธานกลุ่ม ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ภูเงิน PGS อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีการปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ (GI) และผลไม้ต่างๆ รวมทั้งกลุ่มวิจัยและพัฒนาหมอดินอาสาได้ร่วมกับหมอดินกลุ่มเกษตรกรร่วมปลูกต้นทุเรียนภูเขาไฟศีรีสะเกษ (GI) และหญ้าแฝกรอบทรงพุ่มต้นทุเรียนในศูนย์เรียนรู้อีกด้วย
2) โครงการหมู่บ้านปลอดขยะอินทรีย์ต้นแบบ (Zero Waste) บ้านหนองผือ โดยมีนายสีใส มีวงษ์ หมอดินอาสาประจำตำบลห้วยจันทร์ เป็นประธานกลุ่ม ณ บ้านหนองผือ หมู่ 3 ตำบลห้วยจันทร์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมกลุ่มเกษตรกรทำการเกษตรแบบ Zero Waste Agriculture มีการบริหารจัดการขยะในชุมชน อีกทั้งร่วมกันทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในชุมชน