ปกเว็บไซต์ กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
ภาพประกอบประวัติหน่วยงานกองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
ประวัติ
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2506 เป็นหน่วยงานหนึ่งในกรมพัฒนาที่ดิน โดยใช้ชื่อขณะนั้นว่า กองบริรักษ์ที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ พ.ศ.2506 กรมพัฒนา ที่ดิน แบ่งส่วนราชการในระยะเริ่มแรก ออกเป็น 5 ส่วน
1. สำนักงานเลขานุการกรม แบ่งเป็น 2 แผนก คือ
      1) แผนกสารบรรณ
      2) แผนกคลัง
2. กองจำแนกที่ดิน
3. กองบริรักษ์ที่ดิน
4. กองนโยบายที่ดิน
5. กองสำรวจที่ดิน

ในปี พ.ศ. 2527 ตามพระราชกฤษฎีกาได้มีการแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดินขึ้นใหม่
ได้เปลี่ยนจาก กองบริรักษ์ที่ดิน มาเป็น กองอนุรักษ์ดินและน้ำ

ในปี พ.ศ. 2545 มีการออกกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยเปลี่ยนจาก กองอนุรักษ์ดินและน้ำ มาเป็น สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน

ในปี พ.ศ. 2557 มีการออกกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เปลี่ยนจาก สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน มาเป็น กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน จนถึงปัจจุบัน

วิสัยทัศน์
       ผู้นำการวิจัยพัฒนาการจัดการที่ดิน สร้างนวัตกรรมนำสู่ความยั่งยืนทางการเกษตรบนพื้นฐานพอเพียง  
 
พันธกิจ
  1. ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน วิธีการป้องกันและแก้ไขความ เสื่อมโทรมของดิน จัดทำรูปแบบการพัฒนาที่ดินและการจัดการที่ดินในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  2. ติดตามผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อดินและน้ำ ประเมินความเสียหายจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและน้ำ พัฒนาการกักเก็บคาร์บอนด้วยระบบการปลูกพืช รวมทั้งวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดินเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อน
  3. รวบรวม ศึกษา และวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาที่ดิน
  4. สร้างเครือข่ายหมอดินอาสาและกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็งเพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ดินและในด้านอื่นๆ
  5. จัดทำฐานข้อมูลด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการที่ดินเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน การพัฒนาที่ดินและภูมิปัญญาท้องถิ่น หมอดินอาสา และเครือข่ายด้วยระบบสารสนเทศ
  6. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเกษตรกร
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ค่านิยมองค์กร : TEAM For Soils
       TEAM For Soils (ทีมดี ดินดี)
              T-Teamwork : สร้างทีม
              E-Energetic : ทำงานเชิงรุกอย่างมีพลัง
              A-Agile : คล่องแคล่ว
              M-Move Forward : มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

 โครงการวิจัย
      ปัจจุบัน กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน ดำเนินงานโครงการวิจัย โดยแบ่งเป็นโครงการวิจัย ดังนี้ แผนวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและระบบการตัดสินใจผลิตพืชอัตลักษณ์ และพืชทางเลือก แผนวิจัยเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ แผนวิจัยเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศกลางสำหรับการตัดสินใจ แผนวิจัยและพัฒนากระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมที่เหมาะสมสู่การปฏิบัติ แผนวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ดิน และแผนวิจัยและพัฒนาเครื่องมือ เทคโนโลยี นวัตกรรม การพัฒนาที่ดิน และแผนวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการจัดการและแก้ไขปัญหาทรัพยากรดิน

ทำเนียบผู้บริหาร กวจ. ตั้งแต่ 2516- ปัจจุบัน

กองบริรักษ์
นายอนันต์ โกเมศ         ปี 2516  - ปี 2520
นายสนาน ริมวานิช           ปี 2520 - ปี 2523
นายบุญยรักษ์ สืบสิริ ปี 2523  - ปี 2528

กองอนุรักษ์ดินและน้ำ
นายจุฑา กฤษณามระ ปี 2528 - ปี 2533
นายอุปถัมภ์ โพธิสุวรรณ ปี 2533 - ปี 2537
นายจำเนียร กรุแก้ว ปี 2537 - ปี 2538
นายเดชา สัมฤทธิ์         ปี 2538 - ปี 2543
นายชุมพล ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ปี 2543 - ปี 2544
นายสุธัม ปลัดสงคราม ปี 2544 - ปี 2545

สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
นายชุมพล ลิลิตธรรม ปี 2545 - ปี 2546
นายพงศ์ปิยะ ปิยสิริรานนท์ ปี 2546 - ปี 2551
นายประเสริฐ เทพนรประไพ ปี 2551  - ปี 2552
นางกุลรัศมิ์ อนันต์พงษ์สุข ปี 2552 - ปี 2555
นายปรีชา โพธิ์ปาน           ปี 2555 - ปี 2556
นายสมโสถติ์ ดำเนินงาม           ปี 2556 - ปี 2557

กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
นายสมโสถติ์ ดำเนินงาม         ปี 2557  - ปี 2561
นายสุจินต์ นิลประดับแก้ว ปี 2561  - ปี 2562
นางสาวฉวีวรรณ เหลืองวุฒิวิโรจน์ ปี 2562 - ปี 2563
นายประเสริฐ เทพนรประไพ ปี 2563 - ปี 2565
นายยุทธศาสตร์ อนุรักติพันธุ์         ปี 2565 - ปี 2566
นายจำเริญ นาคคง                 ปี 2566 - ปี 2567
นายพชร อริยะสกุล                                               ปี 2567-ปัจจุบัน
ภาพประกอบโครงสร้างหน่วยงานกองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
🚩ขอแสดงความยินดีกับนักวิชาการเกษตรของ กวจ. ที่ได้รับรางวัล ในการประชุมวิชาการกรมพัฒนาที่ดิน ปี 2567 หัวข้อ "สร้างนวัตกรรม รู้ทันการเปลี่ยนแปลง สู่การบริหารจัดการ ทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน" ระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเดอะรีเจนท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ 🏆รางวัลชนะเลิศ 🏅ภาคบรรยายสาขาอนุรักษ์ดินและน้ำ เรื่อง การอนุรักษ์ดินและน้ำโดยใช้ระบบพืชปรับปรุงบำรุงดินร่วมกับแนวพืช กับดักพื้นที่ปลูกแตงโมหลังนาข้าวอินทรีย์ จังหวัดยโสธร โดย นางสาวภรภัทร นพมาลัย นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ 🏆รางวัลชนะเลิศ ภาคบรรยาย สาขาปรับปรุงดิน 🏅เรื่อง การศึกษาความแปรปรวนทางพันธุกรรมของสายพันธุ์ปอเทือง โดยใช้เทคนิค Genotyping-by-Sequencing โดย นางสาววรรยา สุธรรมชัย นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ 🏅รองชนะเลิศอันดับ 1 🏆ภาคบรรยาย สาขาปรับปรุงดิน เรื่อง การศึกษาสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของสายพันธุ์ปอเทืองเพื่อพัฒนาแบบจำลองการผลิตพืช โดย นางสาวอภันตรี พฤกษพงศ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ 🏅รองชนะเลิศอันดับ 2 ภาคบรรยายสาขาการจัดการดินปัญหา เรื่อง ผลของการใช้เถ้าชีวมวลต่อการจัดการดินเค็มพื้นที่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดย นายพงศ์ธร เพียรพิทักษ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ
📣กวจ. ขอแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2566 กรมพัฒนาที่ดิน 🎉🎉 🏅นางนิสา มีแสง ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการดินด้วยระบบพืช กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน 🏅นางมาลินี คุณะดิลก จำปาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล กองการเจ้าหน้าที่
🏆 นายวัฒนา มังธิสาร รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน และนายยุทธศาสตร์ อนุรักติพันธ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการจัดการดิน เข้ารับโล่รางวัล บริการภาครัฐ ประเภท นวัตกรรมการบริการ ระดับดี จากผลงาน “นวัตกรรม รู้จริง พืช ดิน ปุ๋ย (Thai Soil Fertility Management : TSFM)” เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 ณ ห้อง Grand Diamond Ballroom ชั้น 2 อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
นายอนุวัชร โพธินาม รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านปฏิบัติการ ให้เกียรติเป็นผู้มอบโล่รางวัลองค์กรคุณธรรม ให้กับเจ้าหน้าที่กวจ.เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยมีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ได้รับรางวัล ดังนี้ 🏆ศูนย์วิจัยการอนุรักษ์ดินและน้ำ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานต้นแบบด้านส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ประจำปี 2566 🏆บุคคลคุณธรรมต้นแบบ กวจ. 2566 🎖ประเภทข้าราชการ นายวินัย ชมบุตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการอนุรักษ์ดินและน้ำ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 🎖ประเภทลูกจ้างประจำ นางชุติมณฑ์ ยศกันโท พนักงานธุรการ ส4 ฝ่ายบริหารทั่วไป 🏅ประเภทพนักงานราชการ นางสาวกฤษณา ชนิลกุล เจ้าหน้าที่ธุรการ ศูนย์วิจัยการอนุรักษ์ดินและน้ำ อำเภอ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 🏅ประเภทจ้างเหมาเอกชน นางสาววิภาดา ปาละอ้าย ศูนย์วิจัยการอนุรักษ์ดินและน้ำ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุม 801 กรมพัฒนาที่ดิน
🏆ดร.นิสา มีแสง ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการดินด้วยระบบพืช กรมพัฒนาที่ดิน ได้รับรางวัลบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพืชวงศ์ถั่วไทย ในการประชุมวิชาการพืชวงศ์ถั่วแห่งชาติ ครั้งที่ 8 "นวัตกรรมวิจัย พืชวงศ์ทั่วไทย เพื่อความมั่นคงทางอาหาร" ระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
🏆นางสาวอิสริยา มีสิงห์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการจัดการดิน กวจ. กอง วิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ได้รับรางวัล The King of Thailand’s Certificate of Excellence ด้านงานวิจัย (Research) ประเภทผลงานในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Application) ชื่อผลงาน “Study the Factors of Decision to Grow Vetiver Grass Among Farmers in the Northen and Northeastern Regions” ซึ่งได้รับพระราชทานโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 📌วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดการประชุม พร้อมพระราชทานรางวัล The King of Thailand Vetiver Awards และทอดพระเนตรนิทรรศการ การประชุมหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 7 📍ณ โรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และมูลนิธิชัยพัฒนา
กรมพัฒนาที่ดิน มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่ดีและมีประสิทธิภาพให้กับท่านมากยิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตและยอมรับให้มีการใช้คุกกี้ตามนโยบายการใช้คุกกี้ของกรมพัฒนาที่ดิน