ปกเว็บไซต์ กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน

พด. นำร่องพืชสมุนไพรทางเลือกในพื้นที่ดินเค็มภาคกลาง


date 26 ม.ค. 2567    12   

     วันที่ 26 มกราคม 2567 นายจำเริญ นาคคง ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน พร้อมด้วยนายไพรัช พงษ์วิเชียร ผู้เชี่ยวชาญด้านปรับปรุงดินเค็ม นางสาวกมลทิพย์ ศศิธร นางสาวนิสุดา ทองคำพันธ์ และเจ้าหน้าที่กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน 

     ร่วมติดตามความก้าวหน้าชุดโครงการวิจัยการจัดการดินเค็มและดินกรดในพื้นที่ภาคกลางเพื่อปลูกพืชสมุนไพร ติดตามวิจัยการศึกษาเทคโนโลยีการจัดการดินเค็มด้วยวัสดุอินทรีย์ต่อพืชสมุนไพรบางชนิด อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และโครงการวิจัยการศึกษาเทคโนโลยีการจัดการดินกรดด้วยวัสดุอินทรีย์ต่อพืชสมุนไพรบางชนิด อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งโครงการวิจัยทั้ง 2 เรื่อง ได้นำพืชสมุนไพร (Product champion) จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน กระชายดำ และบัวบก มาศึกษาความเป็นไปได้ของการเข้าระบบการปลูกพืชในดินปัญหา คือ ดินเค็มและดินกรดในพื้นที่ภาคกลาง สำหรับดินเค็มนักวิจัยได้ปลูกนำร่อง ตำบลกระตีบ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พบว่า ขมิ้นชันและกระชายดำสามารถปลูกให้ผลผลิตได้ดี โดยการใช้ฟางข้าวคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นของดินและใช้ขี้เถ้าแกลบและปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงดินเค็ม พร้อมการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดคราบเกลือของหน้าตัดดิน สำหรับบัวบกไม่เหมาะสมต่อสภาพดินที่มีลักษณะร่วนปนทราย ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรในการปลูกพืชสมุนไพรในดินปัญหาพร้อมใช้พื้นที่ได้อย่างมีประโยชน์และมีรายได้เพิ่มขึ้น  


รายงาน :  กลุ่มวิจัยและพัฒนาการจัดการดินเค็ม กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

ภาพ     : กลุ่มวิจัยและพัฒนาการจัดการดินเค็ม กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน