ปกเว็บไซต์ สถานีพัฒนาที่ดินกาฬสินธุ์
ภาพประกอบประวัติหน่วยงานสถานีพัฒนาที่ดินกาฬสินธุ์


สถานีพัฒนาที่ดินกาฬสินธุ์  เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง  สังกัดสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต  5  (จ. ขอนแก่น)  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  สถานีพัฒนาที่ดินก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.  2506 (ในที่ดินสาธารณประโยชน์ของจังหวัดกาฬสินธุ์)  มีพื้นที่ประมาณ  330  ไร่  ตั้งอยู่เยื้องปากทางเขื่อนลำปาว  กิโลเมตรที่  34  ถนนถีนานนท์  (มหาสารคาม – กาฬสินธุ์)

เลขที่  108  หมู่  7  ตำบลอุ่มเม่า  อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์  46120 
โทรศัพท์  043 – 840935  โทรสาร  043 – 840936  ห่างจากตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ  11  กิโลเมตร



วิสัยทัศน์ของกรมพัฒนาที่ดิน

“ เป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน เพื่อขับเคลื่อนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม 15 ล้านไร่ ภายในปี 2570 ”


พันธกิจของกรมพัฒนาที่ดิน

     1.  สำรวจ วิเคราะห์ จำแนกดิน และสำมะโนที่ดิน เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

     2.  พัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการดินที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่

     3.  สร้างศูนย์กลางข้อมูลอัจฉริยะทางดินของประเทศ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน

     4.  พัฒนาที่ดินด้วยระบบการบริหารจัดการเชิงรุก ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมด้านการวางแผน ถ่ายทอดเทคโนโลยี อนุรักษ์ดินและน้ำ และปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อรักษาสมดุลความเสื่อมโทรมของที่ดินและนิเวศเกษตร

     5.  ยกระดับองค์การด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรรม


ค่านิยมองค์กร : TEAM For Soils

  TEAM For Soils (ทีมดี ดินดี)  

  T-Teamwork : สร้างทีม

  E-Energetic : ทำงานเชิงรุกอย่างมีพลัง 

  A-Agile : คล่องแคล่ว 

  M-Move Forward : มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน





 การบริหาร การจัดการ และปฏิบัติงาน 

        ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินกาฬสินธุ์
        มีหน้าที่บริหาร จัดการ และปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่ดินฯ ตามพันธกิจ/ภารกิจ ที่ได้รับมอบหมายฯ ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ( ซึ่งแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ 135 ตำบล 1,584 หมู่บ้าน จังหวัดกาฬสินธุ์มีพื้นที่ทั้งหมด 6,946,746 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,341,716.25 ไร่ ) โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น 5 ส่วนงาน คือ

งานธุรการ
        มี นางสาวปิยะวัลย์ ถิ่นวิมล ( เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน ) เป็นหัวหน้างานธุรการ
        ผู้ช่วย / ผู้ประสานงาน คือ
          1. นายวรินทร คล้ายคลึง (เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์)
          2. นางสาวอรอนงค์ ระเวงวัลย์ ( เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน )
          3. นางสาวบังอร แสงมะณี (เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป)
          4. นางสาวศิริวรรณ จงมีเดช (นักวิชาการเงินและบัญชี)
          5. นายอยวัติ  ศิริจานุสรณ์ (เจ้าหน้าที่แผนที่ภาพถ่าย)
          6. นายบุญช่วง ศิริคุณ (พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดกลาง)
         7. นายเทอดศักดิ์ วงพร (พนักงานขับรถยนต์)
         8. นางนงนุช วงษ์ชารี (ลูกจ้างชั่วคราว)
         9. นางสาวอุมาริน สีลาคำ (ลูกจ้างชั่วคราว)
         10. นางสาวนิชนันท์ เท้าไม้สน (ลูกจ้างชั่วคราว)
         11. นางสาวธิดาพร จันทร์ส่อง (ลูกจ้างชั่วคราว)
         12. นายสำราญ ภูแดนแผน ( พนักงานรักษาความปลอดภัย )

        มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการ ในด้านงานสารบรรณ การเงินและการบัญชี ข้อมูลข่าวสาร ระบบคอมพิวเตอร์ การพัสดุ และการประสานงานกับงาน/หน่วยพัฒนาที่ดินต่างๆ ของสถานีฯ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 และ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


งานปฏิบัติการสนาม ( หน่วยพัฒนาที่ดิน )
        มีหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติการสนามในด้านการพัฒนาที่ดิน การสาธิต การฝึกอบรมผู้นำเกษตรกร ( หมอดินอาสา ) และเผยแพร่กิจกรรมงานพัฒนาที่ดินในท้องที่อำเภอต่างๆ ในเขตรับผิดชอบ โดยแบ่งเขตรับผิดชอบออกเป็น 3 หน่วยพัฒนาที่ดิน คือ

ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 1
        มี นางสาวสุมาลี สุวรรณวงษ์ (เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติการ)  เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 1
        ผู้ช่วย / ผู้ประสานงาน คือ
          1. นายศักดิ์สิทธิ์ กระธรรมมะ (นักวิชาการเกษตร)
          2.นายปัทพงศ์ ประวะโท  (นักวิชาการเกษตร)
        รับผิดชอบพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.กมลาไสย อ.ร่องคำ

ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 2
        มี นางสาวอุไรวรรณ ถายา (นักวิชาการเกษตรชำนาญการ) เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 2   
        ผู้ช่วย / ผู้ประสานงาน คือ
          1. นายภูวนาท มาตรสว่าง (นักวิชาการเกษตร)
          2. นายอยวัติ  ศิริจานุสรณ์ (เจ้าหน้าที่แผนที่ภาพถ่าย)
        รับผิดชอบพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.ยางตลาด อ.ห้วยเม็ก อ.ฆ้องชัย 

ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 3
        มี นางสาวกนกนิภา อ่ำสวัสดิ์ (นักวิชาการเกษตรชำนาญการ) เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 3
        ผู้ช่วย / ผู้ประสานงาน คือ
          1. นางสาวดรุณี ทัพซ้าย (นักวิชาการเกษตร)
          2. นายเทอดศักดิ์ วงพร (พนักงานขับรถยนต์ ส.2)
        รับผิดชอบพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.ท่าคันโท อ.สามชัย อ.หนองกุงศรี

ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 4
        มี นายธนเทพ ศรีบุศยกุล (เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน) เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 4
        ผู้ช่วย / ผู้ประสานงาน คือ
          1. นายเชาวพงษ์ ภูสมนึก (นักวิชาการเกษตร)
          2. นายพเนศร์ วุฒิปรีดี (นักวิชาการเกษตร)
        รับผิดชอบพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.สมเด็จ อ.คำม่วง อ.สหัสขันธ์

ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 5
        มี        (นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ) เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 5
        ผู้ช่วย / ผู้ประสานงาน คือ
          1. นายอโนทัย สีลาคำ (นักวิชาการเกษตร)
          รับผิดชอบพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.นาคู อ.นามน อ.ห้วยผึ้ง

ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 6
        มี นายจักรวาล มีทิพย์ (นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ) เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 6
        ผู้ช่วย / ผู้ประสานงาน คือ
          1. นายปรีชญา ครองยุติ (นักวิชาการเกษตร)
          2. นายวรินทร คล้ายคลึง (เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์)
          รับผิดชอบพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.กุฉินารายณ์ อ.เขาวง อ.ดอนจาน

ยุทธศาสตร์ โครงการ / กิจกรรม ที่สถานีพัฒนาที่ดินกาฬสินธุ์ ดำเนินการ
        1. สนับสนุนโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ลุ่มน้ำย่อยลำพะยัง
        2. คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ (บริการวิเคราะห์ดิน น้ำ พืช และให้คำแนะนำการจัดการดิน น้ำ ปุ๋ย และพืช)
        3. ส่งเสริมการผลิตและการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร (จัดตั้งกลุ่มฯ ส่งเสริมการผลิตและการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมี)
        4. การพัฒนาหมอดินอาสาและยุวหมอดิน (หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน / หมอดินอาสาประจำตำบล โครงการเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียนและยุวหมอดิน)
        5. จัดทำศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จุดเรียนรู้และบริการด้านการพัฒนาที่ดินประจำตำบล
        6. โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยบูรณาการร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดกาฬสินธุ์
        7. ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์ การรณรงค์ไถกลบตอซังและเศษพืชการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
        8. ปรับปรุงคุณภาพดิน การปรับปรุงพื้นที่ดินกรด การพัฒนาพื้นที่ดินเค็ม
        9. สนับสนุนระบบข้อมูลสารสนเทศ การใช้โปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืช การจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง “การใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัด”
        10. การรณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย อนุรักษ์ดินและน้ำ ฟื้นฟูดินและสภาพแวดล้อม ปลูกหญ้าแฝก และ แจกจ่ายหญ้าแฝก
        11. กำหนดและจัดทำเขตการใช้ที่ดิน จัดทำเขต/หมู่บ้านพัฒนาที่ดิน
        12. จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อการใช้ที่ดินอย่างชาญฉลาดและยั่งยืน
        13. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ (ก่อสร้างแหล่งน้ำสาธารณะ)
        14. การก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน(ความจุ 1,260 ลบ.เมตร)

ภาพประกอบโครงสร้างหน่วยงานสถานีพัฒนาที่ดินกาฬสินธุ์
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประเภทข้าราชการ นางอุไรวรรณ ถายา นักวิชาการเกษตรชำนาญการ
กรมพัฒนาที่ดิน มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่ดีและมีประสิทธิภาพให้กับท่านมากยิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตและยอมรับให้มีการใช้คุกกี้ตามนโยบายการใช้คุกกี้ของกรมพัฒนาที่ดิน