ปกเว็บไซต์ สถานีพัฒนาที่ดินหนองบัวลำภู

  

สถานีพัฒนาที่ดินหนองบัวลำภู เป็นหน่วยงานในส่วนภูมิภาค สังกัด สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต5 กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ ตุลาคม 2542  บนเนื้อที่  95  ไร่  ตั้งอยู่เลขที่ 153 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู 


วิสัยทัศน์ (ของกรมพัฒนาที่ดิน) 

 วิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาที่ดิน ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 -2554 )

พัฒนาที่ดินให้สมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิต ในทิศทางใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานความพอเพียง ”

 

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ 

1.      ให้บริการด้านการวิเคราะห์ ตรวจสอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และการปรับใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร

2.      ศึกษาทดลอง และถ่ายทอดผลการศึกษาทดลอง ผลงานวิจัย และให้บริการด้านการพัฒนาที่ดินแก่ เกษตรกร องค์กร และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 

3.      ปฏิบัติการอื่นๆ ตาม พ.ร.บ.การพัฒนาที่ดิน และงานจากกรมพัฒนาที่ดิน หรือกระทรวง ที่ได้รับมอบหมาย

ปรัชญาการดำเนินการ

       ปรัชญา การดำเนินการของกรมพัฒนาที่ดิน คือ "การพัฒนาที่ดิน เป็นการดูแลทรัพยากรดิน เพื่อให้เป็นรากฐาน ของการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน"

 

พันธกิจ 

1.      สนับสนุนงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

2.      วิจัย พัฒนาให้บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน พร้อมทั้งกำหนดเขตการใช้ที่ดินที่เหมาะสมเพื่อการผลิต และให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านต่างๆ ที่ถูกต้องทันสมัย

3.      พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาที่ดินและน้ำ โดยการอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์ ที่ดินอย่างยั่งยืน ภายใต้กระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วม

4.      พัฒนาหมอดินอาสา ยุวหมอดิน เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาที่ดิน เพื่อเป็นรากฐานการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง

5.      ปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ. พัฒนาที่ดิน และงานที่ได้รับมอบหมายจากกรมพัฒนาที่ดิน

ภาพประกอบโครงสร้างหน่วยงานสถานีพัฒนาที่ดินหนองบัวลำภู
กรมพัฒนาที่ดิน มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่ดีและมีประสิทธิภาพให้กับท่านมากยิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตและยอมรับให้มีการใช้คุกกี้ตามนโยบายการใช้คุกกี้ของกรมพัฒนาที่ดิน