| ป้องกันการชะล้างพังทลาย ปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมในการผลิตพืชเศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ ให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นารผ่านภาคีเครือข่าย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานพัฒนาที่ดินารผ่านภาคีเครือข่าย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานพัฒนาที่ดิน | |
การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน : | การสำรวจ วิเคราะห์ จำแนกประเภทการใช้ที่ดิน การจัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต | |
การมีส่วนร่วม : | ภาคีเครือข่าย ได้แก่ หมอดินอาสา เกษตรกร ชุมชน ท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ดิน และการเผยแพร่ความรู้วิชาการผ่านภาคีเครือข่าย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานพัฒนาที่ดิน |
ค่านิยมองค์กร : TEAM For Soils
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2506 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้พระราชบัญญัติ 3 ฉบับ ให้มีการจัดตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติขึ้น โดยรวมงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีอยู่เดิมเข้าไว้กับกรมอื่นอีก รวมจำนวน 13 กรม ซึ่ง กรมพัฒนาที่ดิน เป็นกรมหนึ่งได้รับการจัดตั้ง ในครั้งนี้ด้วย
วันที่ 29 กันยายน 2515 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ ให้กรมพัฒนาที่ดินย้ายมาสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หลังจากนั้นโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของ กรมพัฒนาที่ดิน ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการบริหารงาน และการพัฒนาประเทศ เรื่อยมาจนกระทั่ง วันที่ 10 เมษายน 2527 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของ กรมพัฒนาที่ดินกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2527 มี 9 กอง 13 สำนักงาน
ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2527 จึงมี สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ขึ้น โดยมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลงานพัฒนาที่ดิน ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ซึ่งแต่ละจังหวัดถูกจัดตั้งเป็นสถานีพัฒนาที่ดินเพื่อรับผิดชอบงานพัฒนา ที่ดินในพื้นที่ของจังหวัดนั้นๆ สถานีพัฒนาที่ดินแม่ฮ่องสอน จึงเป็นส่วนราชการระดับจังหวัด ที่เกิดขึ้นมาตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการฯ
1. |
ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาที่ดินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง |
|
2. |
ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ และจำแนกดิน เพื่อกำหนดนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน การกำหนดบริเวณการใช้ที่ดิน การควบคุมการใช้ที่ดินบริเวณที่มีการใช้หรือทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมี หรือวัตถุอื่นใด การกำหนดเขตอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งติดตามสถานการณ์สภาพการใช้ที่ดิน | |
3. |
ศึกษา วิจัย และพัฒนาการอนุรักษ์ดินและน้ำ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตรในไร่นา การปรับปรุงบำรุงดิน การผลิตและใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน การปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดการที่ดินเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร |
|
4. | ให้บริการวิเคราะห์และตรวจสอบดิน น้ำ พืช ปุ๋ย พร้อมให้คำแนะนำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดิน | |
5. | ศึกษา วิเคราะห์ และผลิตแผนที่ภาพถ่าย จัดทำสำมะโนที่ดิน และพัฒนาระบบแผนที่ฐาน เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการใช้ การพัฒนาการผลิต การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรและอื่น ๆ |
|
6. |
ถ่ายทอดผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และให้บริการด้านการพัฒนาที่ดิน รวมทั้งสร้างเครือข่ายหมอดินอาสา และกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง เพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ดินและด้านอื่น ๆ |
|
7. |
|