นักวิชาการเกษตร สพด.ปัตตานี บรรยายความรู้การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด.14 (ไตรโคเดอร์มา) สำหรับเกษตรแปลงทุเรียน
17 ก.ค. 2567
3
นักวิชาการเกษตร สพด.ปัตตานี บรรยายความรู้การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด.14 (ไตรโคเดอร์มา) สำหรับเกษตรแปลงทุเรียน
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 9:00 น.สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี โดยฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน นำโดยนายณรงค์ มะลี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ และน.ส.สิริพร อินทกาญจน์ นักวิชาการเกษตร และเจ้าหน้าที่ฯ ลงพื้นดำเนินงาน“โครงการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด.14 ( ไตรโคเดอร์มา)
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช อาหารปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2567 “ โดยการบรรยายให้ความรู้ แนะนำผลิตภัณท์สารเร่งซุปเปอร์ พด.14 ไตรโคเดอร์มา แบบผงละลายน้ำ ซึ่งเป็นสารชีวภัณฑ์ เพื่อใช้ในการป้องกันและกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า จากเชื้อสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และไม้ยืนต้น ซึ่งจะช่วยลดการเกิดโรค และการใช้สารเคมีกำจัดโรคพืช โดยมีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจำนวน 30 ราย ของตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง
.
.
ศึกษาข้อมูล พด.14 เพิ่มเติมได้ที่
1. แผ่นผับ พด.14
2. INFO พด.14
.
ข้อมูลเกี่ยวกับ สารเร่งพด.14(ไตรโคเดอร์มา) และเชื้อราไตรโคเดอร์มา
.
เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดิน ใช้เศษซากพืช ซากสัตว์ และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วในอาหารเลี้ยงเชื้อ สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า "โคนิเดีย" หรือ "สปอร์" จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว
สมบัติของ พด.14 ควบคุมโรคพืช โดยมี 3 กลไกดังนี้
การเป็นปรสิต (Parasitism) ไตรโคเดอร์มาสามารถเข้าไปเจริญอาศัยอยู่ในเซลล์ของเชื้อโรคพืช และดูดกินสารอาหาร ทำให้เชื้อโรคพืชอ่อนแอและตายไป
การแข่งขัน (Competition) ไตรโคเตอร์มาสามารถ
เจริญเติบโต แย่งอาหาร และที่อยู่อาศัยกับเชื้อสาเหตุ
โรคพืช
การผลิตสารปฏิชีวนะ (Antibiosis) ไตรโคเตอร์มาสามารถผลิตสารปฏิชีวนะเพื่อทำลายเชื้อโรคพืช ทำให้โรคพืชลดลง
พืชผัก และข้าว
ฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง
ไม้ผลและไม้ยืนต้น ฉีดผ่นที่บริเวณ แผลที่ต้นหรือโคนต้น ทุกๆ 10 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง หรือจนแผลแห้ง
สามารถยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคพืชได้หลายชนิด ได้แก่
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน ยางพารา ลำไย
โรคใบจุดในข้าว
โรคใบร่วงและแอนแทคโนสในพริก
โรคใบจุด ในพืชผัก
โรคเน่าคอดิน ในผัก
โรคเน่าคอดิน ในพืชผัก
โรคเหี่ยวเหลือง ในพริก มะเขือเทศ
โรคเน่าเละ ในผัก
ลดอาการของโรครากเน่าโคนเน่าได้
ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
ปลอดภัยต่อผลผลิต เกษตรกร และสิ่งแวดล้อม
1. ควรฉีดพ่นช่วงเช้าหรือเย็น
2. กรณีใช้ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ ควรใช้เว้นระยะห่าง 7 วัน
3. เก็บไว้ในที่ร่ม เมื่อเปิดซองแล้วควรใช้ให้หมด
ภาพ/รายงาน : ประชาสัมพันธ์สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี