ปกเว็บไซต์ สถานีพัฒนาที่ดินบุรีรัมย์

พด.บุรีรัมย์ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับพื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์ และร่วมรับฟังแนวทางขับเคลื่อน ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอยู่ดีกินดี สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting


date 16 ก.ย. 2567    4   
วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน 2567 เวลา 08.30 น. สถานีพัฒนาที่ดินบุรีรัมย์ โดย นายธรรมรัตน์ กังวาลสิงหนาท นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ร่วมรับฟังแนวทางขับเคลื่อน ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอยู่ดีกินดี สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ณ ห้องประชุมพนมรุ้ง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี นายเอก อุ่นจิตต์วรรธนะ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานการประชุมฯ วัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรในระดับจังหวัดและชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรในปีงบประมาณ 2568 พร้อมทั้งรับทราบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อรับฟังการมอบนโยบายขับเคลื่อนงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหลักการทำงานตามนโยบายพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์เน้นการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการเกษตร โดยสานต่อนโยบายเดิม 9 นโยบาย ประกอบด้วย
1. เน้นการสร้างวิธีการทำงานสู่การปฏิบัติ
2. เร่งรัดการจัดที่ดินทำกินให้กับเกษตรกร ขยายผลการยกระดับเอกสารสิทธิให้เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร รวมถึงพัฒนาช่องทางการเข้าถึงแหล่งทุน พร้อมยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน และสามารถแปลงสินทรัพย์ในที่ดินให้เป็นแหล่งเงินทุน เพื่อสร้างรายได้และความยั่งยืนให้กับเกษตรกร
3. บริหารจัดการน้ำ ให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อการเกษตร รวมถึงบริหารจัดการทั้งน้ำท่วม น้ำแล้งและการเติมน้ำในเขื่อน
4. ยกระดับสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง ด้วยการต่อยอดโครงการ 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง สร้าง Brand หรือ Story ของจังหวัด/อำเภอ โดยเน้นการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ รวมถึงส่งเสริมการสร้างอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
5. ยกระดับศักยภาพของเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง
6. จัดการทรัพยากรทางการเกษตร
7. รับมือกับภัยธรรมชาติ ต้องมีการวางแผนและมีมาตรการเชิงรุก เพื่อรับมือตั้งแต่การป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟู เมื่อประสบเหตุภัยแล้ง หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติทุกชนิด เช่น มาตรการเยียวยาและ/หรือมาตรการฟื้นฟูสำหรับเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย เป็นต้น
8. สานต่อการทำสงครามสินค้าเกษตรเถื่อน โดยดำเนินการปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายให้เข้มงวดยิ่งขึ้น รวมถึงการตรวจสอบสต็อกสินค้าเกษตรในประเทศ เพื่อไม่ไม่ให้กระทบต่อราคาผลผลิตในประเทศ และควบคุมการน้ำเข้า/ป้องกันการกักตุน/เก็งกำไร โดยเฉพาะช่วงก่อนที่ผลผลิตออกสู่ตลาด
9. อำนวยความสะดวกด้านการเกษตร
ซึ่งนโยบายทั้ง 9 นโยบาย เป็นการสานต่อนโยบายเดิมจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า) เพื่อขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของรัฐบาล ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอยู่ดีกินดี สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืนต่อไป